หมู่ที่ 9 บ้านสบวิน


จำนวนผู้อ่านบทความ : 75

บ้านสบวิน

หมู่ที่ 9  ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           บ้านสบวิน หมู่ที่ 9 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอแม่วาง ระยะทางจากตัวจังหวัด ประมาณ 50 กิโลเมตร จากที่ว่าการอำเภอแม่วาง ประมาณ 10 กิโลเมตร บ้านสบวิน หมู่ที่ 9 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในกลางหุบเขาในสมัยก่อนเรียกว่า “เมืองหวิด” ซึ่งมีรอยพระบาทอยู่บนก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ที่บนดอยหมด  ซึ่งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน คำว่าหวิด มาจากรอยพระบาทที่มีไม่เต็มหายไปบางส่วน ผู้เฒ่าผู้แก่เรียกว่าหวิดหรือแหว่งไป เป็นที่มาเรียกของคำว่า “เมืองหวิด หรือเมืองวิน”ในปัจจุบัน มีลำน้ำสายหลักคือลำน้ำแม่วาง ไหลมาจากเทือกเขาดอยอินทนนท์ และมีลำน้ำสาขาคือลำน้ำแม่วิน ไหลมาจากเทือกเขาเขตติดต่อ อำเภอสะเมิง เรียกว่าขุนวิน ไหลมาบรรจบกันตรงทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่จึงเรียกชื่อว่า บ้านสบวิน ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2440 และมีอายุราว 115 กว่าปี เมื่อเริ่มก่อตั้งมีพ่อขุนวิน ซึ่งราษฎรสมัยนั้นให้ความเชื่อถือเป็นผู้รวบรวมประชาชนเป็นกลุ่มก้อน จึงได้จัดตั้งให้พ่อขุนวินเป็นผู้นำการปกครองหมู่บ้าน

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านในอดีตถึงปัจจุบัน

           1.  นายสม         ไชยปัน         ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง            -

           2.  นายคำ         คลื่นไทย        ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง            - 2510

           3.  นายเลื่อน      ออนเขียว       ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง    2510 - 2532

           4.  นายเฉลิมพล   อินตา           ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง    2532 - 2547

           5.  นายทองคำ     แสนปัน        ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง    2547 - ปัจจุบัน

 

อาณาเขตติดต่อ

           ทิศเหนือ        ติดต่อกับ   บ้านห้วยหยวก  หมู่ที่ 7 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศใต้           ติดต่อกับ   ลำน้ำแม่วาง

           ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ   บ้านใหม่ปางเติม  หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง

           ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ   บ้านใหม่วังผาปูน หมู่ที่ 15 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

 

ลักษณะภูมิอากาศ/ลักษณะภูมิประเทศ

           บ้านสบวินเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ที่ราบเชิงเขา ริมฝั่งแม่น้ำแม่วาง และน้ำแม่วิน มีพื้นที่ทำกินบางส่วนเป็นที่ราบฝั่งแม่น้ำ บางส่วนเป็นบริเวณที่ราบเชิงเขา ลักษณะการตั้งบ้านเรือนเป็นกระจุกอยู่ใกล้กับถนนสายบ้านกาด – แม่วิน ภูมิอากาศในหน้าหนาวมีอากาศหนาวเย็น หน้าร้อนอากาศไม่ร้อนมาก หน้าฝนมีฝนตกชุก และได้แบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้

           ฤดูหนาว     ช่วงเดือนพฤศจิกายน    ถึง  เดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน       ช่วงเดือนมีนาคม         ถึง  เดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน        ช่วงเดือนมิถุนายน       ถึง  เดือนตุลาคม

 

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านสบวิน  นับถือศาสนาพุทธ โดยมี วัดสบวิน เป็นศูนย์รวมจิตใจ

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

239

 ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

571

 คน

แบ่งเป็น ชาย

284

 คน

แบ่งเป็น หญิง

287

 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

79

 คน

แบ่งเป็น ชาย

38

 คน

แบ่งเป็น หญิง

41

 คน

- จำนวนผู้พิการ

27

 คน

แบ่งเป็น ชาย

12

 คน

แบ่งเป็น หญิง

15

 คน

 

อาชีพของคนในหมู่บ้านดังนี้

           1) เกษตรกรรม เช่น การทำข้าวไร่ ทำสวนถั่วเหลือง ไร่ข้าวโพด สวนลำไย เลี้ยงหมู เลี้ยงโค

           2) รับจ้าง

           3) ประกอบธุรกิจค้าขาย โดยเฉพาะ การประกอบธุรกิจการล่องแพ ขี่ช้าง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

 

สภาพทางสังคม

           สภาพครัวเรือนชาวบ้าน อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น

           -   ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีการตรวจสุขภาพอนามัยตลอดเพราะมีสถานีอนามัยอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร 

           -   เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อ่านและเขียนได้เป็นส่วนใหญ่อ่านเขียนภาษไทยออกเกือบหมด

           -   ชาวบ้านสบวิน จะติดสุราบางส่วน  และวัยรุ่นมักจะติดบุหรี่  เนื่องจากการชักชวนจากเพื่อน และการอยากลองของวัยรุ่น

 

การท่องเที่ยว

           1) การนั่งช้าง ล่องแพ

           2) ท่าเล่นน้ำ และการบริการร้านค้า

           3) การเดินป่าชมพันธ์ไม้ ชมนก

           4) การบริการที่พัก HOME STAY มาตรฐาน

           5) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน OTOP

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมของหมู่บ้าน

           -   ผลผลิตทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลืองลำไย เป็นต้น ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้ ถือว่าเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านก็เป็นได้

           -   หัตถกรรม เช่น เรือนจำลอง เกมส์ไม้ เป็นต้น

ศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน

           -   พิธีสืบชะตาหมู่บ้าน

           -   การเลี้ยงผีหมู่บ้าน

           -   การทำฝายแม้ว

           -   การสืบทอดการทำเกมส์ไม้ การสืบทอดการทำเรือใบจำลอง

           -   การทำยาจากสมุนไพร

           -   การนวดแผนโบราณ

 

การคมนาคม  และสาธารณูปโภค

           -   การคมนาคมมีความสะดวกสบาย ในการเดินทางไปอำเภอแม่วางและตามซอยได้รับการพัฒนาเป็นถนนคอนกรีตหรือลงหินคลุกทุกซอย

           -   โทรศัพท์  มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 2 เครื่อง

           -   โทรศัพท์มือถือ เกือบทั้งหมู่บ้าน

           -   มีหอกระจายข่าวจำนวน 1 แห่ง

           -   มีประปาหมู่บ้านจำนวน 1 แห่ง

 

ประเพณี/เทศกาลประจำปี

           -   ประเพณีลอยกระทง

           -   ประเพณีปี๋ใหม๋เมือง

           -   ประเพณีเลี้ยงผีเดือน 9

           -   ประเพณีตานก๋วนสลาก

           -   ประเพณีตานข้าวใหม่

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1)   นายทองคำ     แสนปัน       ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

           2)   นายนิคม       ออนเขียว     ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           3)   นางบัวผัน      อริยะ         ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           4)   นายเลื่อน      ออนเขียว     ตำแหน่ง  ประธานผู้สูงอายุ

           5)   นายอดิศักดิ์    คำแปง        ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้าน

           6)   นายณรงค์      ทาใจ         ตำแหน่ง  ประธานประชาคม

           7)   นายเดชา       ตานวล       ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           8)   นายสมาน      อริยะ         ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           9)   นายอุ๊ด         แก้วทา       ตำแหน่ง  ประธานกลุ่มเกมส์

           10)  นายนิคม       ออนเขียว     ตำแหน่ง  ประธานกลุ่มร้านค้า

           11)  นางศรีนวล     จันทะแพ     ตำแหน่ง  ส.อบจ, ประธานกลุ่ม HOME STAY

           12)  นายประเสริฐ  ตลาดแก้ว    ตำแหน่ง  ประธานกลุ่มแพ

           13)  นายบุญปั๋น     บุญธรรม     ตำแหน่ง  ประธานกลุ่มช้าง

           14)  นางสมศรี      กันทอน       ตำแหน่ง  ประธาน อสม.

           15)  นางแสงคำ     แก้วทา       ตำแหน่ง  ประธาน กพสม.

           16)  นางก๋องมูล     ตื้อหน้อย     ตำแหน่ง  ประธานกลุ่มนวดแผนโบราณ

           17)  นายกิตติโชติ   จันทะแพ     ตำแหน่ง  ประธานกลุ่มเกษตรกร

           18)  นางปราณี      กิตติมูล       ตำแหน่ง  ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

           19)  นายบุญเลิศ    นามเจิง       ตำแหน่ง  ประธานเหมืองฝาย

 

สภาพปัญหาของหมู่บ้าน

           สภาพปัญหาของหมู่บ้านแยกได้ดังนี้

           1)  ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์

           2)  ราคาพืชผลการเกษตรไม่แน่นอน

           3)  ปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร

           4)  ขยะมูลฝอย

           5)  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ปางช้าง ยังขาดการดูแลจัดการ เรื่องความสะอาดอย่างจริงจัง ส่งให้เกิดผลกระทบด้านการท่องเทียวตามมา

 

ทุนทางสังคม

           ของดีในหมู่บ้าน มีดังนี้

  1. มีกลุ่มอาชีพหัตถกรรมจากไม้  คือ เรือใบจำลองและเกมไม้ ซึ่งได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ 5 ดาว และ 3 ดาว ตามลำดับ
  2. มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ  คือปางช้างซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นรู้จักกัน  ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
  3. มีกลุ่ม ชมรม ต่างในหมู่บ้านที่ค่อนข้างเข้มแข็ง
  4. มีประเพณีที่ดีงามที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
  5. ได้รับพิจารณาเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเพื่อการท่องเที่ยว (OTOP)  อันดับที่ 15 ของภาคเหนือ
  6. ได้รับพิจารณาเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village Champion)  1  ใน  80  ของประเทศ  เมื่อปี 2550

 

เป้าหมายการพัฒนา

           ปรับปรุงกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว  ดังนี้

  1. มีโซนให้ช้างอยู่เป็นที่เป็นทาง
  2. มีที่ให้ร้านค้าจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นระเบียบ
  3. มีการจัดตั้งชมรมด้านการให้บริการด้านการท่องเที่ยว
  4. เปิดเส้นทางการท่องเที่ยวเดินเท้าเชิงนิเวศน์
  5. จัดกิจกรรมข่วงวัฒนธรรมการท่องเที่ยวประจำปี
  6. ทำลานจอดรถตามสถานที่ท่องเที่ยว
  7. สร้างห้องน้ำเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

 

ข้อมูลอื่น ๆ ที่แสดงศักยภาพของชุมชน

           -   มีกองทุนต่างๆ ในหมู่บ้าน และกลุ่มองค์กรต่างๆ

           -   คณะกรรมการในหมู่บ้านมีความแข็งแรงและสามัคคีกัน