หมู่ที่ 10 บ้านห้วยตอง


จำนวนผู้อ่านบทความ : 223

บ้านห้วยตอง

หมู่ที่ 10  ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           บ้านห้วยตอง หมู่ที่ 10 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2430 โดยพ่อเฒ่ากลาโพ ได้อพยพมาจากบ้านแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และชื่อหมู่บ้านครั้งแรกเรียกตามภาษาปกาเกอะญอ คือ บ้านแหม่เซอะเปอะดี ประมาณปี พ.ศ. 2440 บ้านของผู้อาวุโสคนหนึ่งถูกปล้น โดยโจรจากพื้นราบทำให้หมู่บ้านแตก กลาโพได้ย้ายไปตั้งหมู่บ้านใหม่ที่ขุนห้วยตอง ขณะที่ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้ย้ายไปตั้งหมู่บ้านที่ห้วยตาด (บ้านเพาะต่าโกล๊ะ) และเข่อข่อทิ เมื่อกลาโพได้ถึงแก่กรรม โต่ยวง บุตรเขยของกลาโพได้ขึ้นมาเป็นผู้นำหมู่บ้านแทน  ในปี 2510 บาทหลวงโยเซฟ เวกีน๊อต  ได้ส่ง นายทิพย์ สุขสวัสดิ์ มาเป็นครูที่บ้านห้วยตอง ให้บุตรหลานของบ้านห้วยตองได้มีโอกาสเรียนหนังสือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาปกาเกอะญอ 
เลขคณิต และพระคัมภีร์

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีจำนวน  9  คน  ดังนี้

           1) นายโต่วา                          ปี พ.ศ. 2480 - 2487

           2) นายเบอะบอ   ศศิธรรัตนชัย     ปี พ.ศ. 2487 - 2490

           3) นายนุฆะพิ     ต่อเลอะ          ปี พ.ศ. 2490 - 2500

           4) นายหน้อยมูล                     ปี พ.ศ. 2500 - 2501

           5) นายลอยเจ๊ะ    ตาดิ              ปี พ.ศ. 2501 - 2507

           6) นายยาชิ        เกษตรสุขใจ      ปี พ.ศ. 2508 - 2523

           7) นายนุเหลอะ   มณีรัตนวงศ์สิริ   ปี พ.ศ. 2523 - 2544

           8) นางหม่อเอ     สุขสวัสดิ์         ปี พ.ศ. 2545 - 2549

           9) นายติบุญ       ตาดิ              ปี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน

 

อาณาเขตติดต่อ

           บ้านห้วยตอง ตั้งอยู่ในตำบลแม่วิน และ อยู่ห่างจากอำเภอแม่วาง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 29กิโลเมตร

           ทิศเหนือ        ติดต่อกับ บ้านห้วยอีค่าง หมู่ที่ 1  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศใต้           ติดต่อกับ บ้านห้วยเกี๋ยง  หมู่ที่ 4  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง         

           ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ บ้านห้วยทราย หมู่ที่ 2  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ บ้านหนองเต่า  หมู่ที่ 4  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

 

พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านห้วยตอง

           7.18 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิอากาศ  แบ่งออกเป็น 3 ฤดูดังนี้

           ฤดูหนาว       ช่วงเดือน พฤศจิกายน  ถึง  เดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน         ช่วงเดือน มีนาคม       ถึง  เดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน          ช่วงเดือน มิถุนายน     ถึง  เดือนตุลาคม

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

127

 ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

537

 คน

        แบ่งเป็น ชาย

284

 คน

        แบ่งเป็น หญิง

253

 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

47

 คน

        แบ่งเป็น ชาย

21

 คน

        แบ่งเป็น หญิง

26

 คน

- จำนวนผู้พิการ

10

 คน

        แบ่งเป็น ชาย

7

 คน

        แบ่งเป็น หญิง

3

 คน

 

การประกอบอาชีพ

           1) เกษตรกรรม (ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์)    จำนวน    11  ครัวเรือน

           2) ค้าขาย                                             จำนวน    16  ครัวเรือน

           3) ทำงานประจำ/รับราชการ                        จำนวน    43  ครัวเรือน

           4) ทำงานประจำเอกชน/บริษัท/โรงงาน             จำนวน    15  ครัวเรือน

           5) ว่างาน                                              จำนวน      8  ครัวเรือน

           หมู่บ้านมี รายได้    8,057,500  บาท/ปี

           หมู่บ้านมี รายจ่าย  4,562,700  บาท/ปี

 

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 4 กลุ่ม

           1)  กลุ่มหัตถกรรมบ้านห้วยตอง

           2)  กลุ่มแม่บ้าน

           3)  กลุ่มพ่อบ้าน

           4)  กลุ่มเยาวชน

 

กองทุนในหมู่บ้าน

ลำดับ

ชื่อกองทุน

ยอดเงิน ณ ปัจจุบัน

1

กองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)

1,200,000  บาท

2

กองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

280,000  บาท

3

กองทุนออมทรัพย์เครดิต

4,000,000  บาท

4

กองทุนออมทรัพย์แม่บ้าน

60,000  บาท

5

กองทุน อพป.

20,000  บาท

6

กองทุนฌาปนกิจ

10,000  บาท

7

กองทุนสงเคราะห์

10,000  บาท

8

กองทุนแม่ของแผ่นดิน

35,000  บาท

9

กองทุนธนาคารข้าว

60,000  บาท

ผลิตภัณฑ์ของชุมชน

           ทอผ้าแบบกี่เอว ของชาวกระเหรี่ยง

 

สภาพทางสังคม

           -   สภาพครัวเรือนชาวบ้านห้วยตอง อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น 

           -   ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีการตรวจสุขภาพอนามัยตลอดเพราะมีสถานีอนามัยอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 5 กิโลเมตร (อยู่บ้านหนองเต่า)

           -   เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60  ปี อ่านและเขียนได้  คิดเป็น 20 %

           -   ชาวบ้านห้วยตอง ส่วนใหญ่ไม่ติดสุรา  ไม่ติดบุหรี่  เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด มีการปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1  ครั้ง

 

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านห้วยตอง  นับถือศาสนาคริสต์ทุกหลังคาเรือน  ประชากรเป็นชาวเขากะเหรี่ยง

 

แหล่งท่องเที่ยว

           บ้านห้วยตอง   มีสถานที่ท่องเที่ยวไว้รองรับนักท่องเที่ยว  ดังนี้

           1. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง (Thung Luang Royal Project Development Center) เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎร จำนวน 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ทุ่งหลวง ห้วยทราย ห้วยข้าวลีบ ห้วยอีค่าง หนองเต่า ห้วยเกี๋ยง โป่งสมิตร ห้วยเย็นกะเหรี่ยง ห้วยเย็นม้ง และแม่สะงะ

               - ชมการเลี้ยงสัตว์บนที่สูง เช่น นกกระจอกเทศ 

               - มีการบริการไกด์ท้องถิ่นนำเที่ยว แคมป์ไฟ คาราโอเกะ การแสดงชนเผ่ากะเหรี่ยง เช่น รำดาบ รำสาวน้อยปกาเกอะญอ และเครื่องดนตรีเตหน่า

               -  บริการบ้านพักรับรอง (ประมาณ 50คน) จุดกางเต๊นท์ และถุงนอนไว้คอยบริการ

           2.  สักการะวัดพระธาตุศรีพุทธชินวงค์

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

           1.  ประเพณีมัดมือ  หรือประเพณีปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง มักจะจัดในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี

           2.  ประเพณีกินข้าวใหม่ (ข้าวเม่า) ของกระเหรี่ยง จัดขึ้นภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนสิงหาคม

           3.  ประเพณีแต่งงานของกะเหรี่ยง นิยมแต่งงานในเดือนพฤษภาคม มีพิธีกรรม 2 แบบ คือ พิธีกรรมผู้ที่นับถือผี และผู้นับถือศาสนาคริสต์

 

การคมนาคม  และสาธารณูปโภค

           -   การคมนาคมมีความสะดวกสบาย  ในการเดินทางไปอำเภอแม่วางและตามซอยได้รับการพัฒนาเป็นถนนคอนกรีตหรือลงหินคลุกทุกซอย

           -   โทรศัพท์  มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ  จำนวน  2  เครื่อง

           -   โทรศัพท์มือถือ  20  ครัวเรือน

การคมนาคม  และสาธารณูปโภค (ต่อ)

           -   มีหอกระจายข่าว จำนวน 1 แห่ง

           -   มีประปาหมู่บ้าน จำนวน  1 แห่ง

           -   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก