หมู่ที่ 11 บ้านห้วยโป่ง


จำนวนผู้อ่านบทความ : 923

บ้านห้วยโป่ง

หมู่ที่ 11  ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           หมู่บ้านห้วยโป่ง หมู่ที่ 11 แยกจากหมู่บ้านแม่มูต หมู่ที่ 6 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2517 เนื่องจากประชากรของหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การบริหารจัดการไม่ทั่วถึง อีกทั้งมีระยะห่างพอสมควร จึงมีการประชุมเพื่อที่จะแยกออกจากกัน

           ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านมีสภาพเป็นดินโป่ง อุดมสมบูรณ์ เป็นขุนน้ำห้วยโป่ง ละลำห้วยหลายสายมาบรรจบกัน ในอดีตพื้นที่ดังกล่าวจะมีสัตว์ป่าจำนวนมากลงมากินน้ำ และดินโป่งชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านห้วยโป่ง” จวบจนถึงปัจจุบัน

 

คำขวัญประจำหมู่บ้าน

           บ้าน วัด โรงเรียน เป็นหนึ่ง       เป็นที่พึ่งชาวประชา

           ศาลเจ้าบ้านลือล้ำค่า             เป็นสง่าหมู่บ้าน อพป.

 

อาณาเขตติดต่อ

           ทิศเหนือ       ติดต่อกับ  บ้านห้วยหยวก หมู่ที่ 7   และบ้านแม่มูต หมู่ที่ 6  ต.แม่วิน อ.แม่วาง

           ทิศใต้          ติดต่อกับ  บ้านห้วยข้าวลีบ หมู่ที่ 8  และบ้านห้วยหอย หมู่ที่ 19 ต.แม่วิน อ.แม่วาง

           ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  บ้านใหม่วังผาปูน หมู่ที่ 15 ต.แม่วิน อ.แม่วาง

           ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  บ้านแม่มูต หมู่ที่ 6 ต.แม่วิน อ.แม่วาง

 

พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านห้วยโป่ง

           20 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิอากาศ

           แบ่งออกเป็น 3 ฤดูดังนี้

           ฤดูหนาว    ช่วงเดือนพฤศจิกายน   ถึง  เดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน     ช่วงเดือนมีนาคม        ถึง  เดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน       ช่วงเดือนมิถุนายน       ถึง  เดือนตุลาคม

 

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านห้วยโป่ง  นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด

 

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

133

ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

403

คน

        แบ่งเป็น ชาย

180

คน

        แบ่งเป็น หญิง

223

คน

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

64

คน

        แบ่งเป็น ชาย

29

คน

        แบ่งเป็น หญิง

35

คน

- จำนวนผู้พิการ

7

คน

        แบ่งเป็น ชาย

4

คน

        แบ่งเป็น หญิง

3

คน

 

การประกอบอาชีพ

1)  เกษตรกรรม (ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์)

จำนวน

60  ครัวเรือน

2)  ค้าขาย

จำนวน

11  ครัวเรือน

3)  ทำงานประจำ/รับราชการ

จำนวน

7  ครัวเรือน

4)  ทำงานประจำเอกชน/บริษัท/โรงงาน

จำนวน

2  ครัวเรือน

5)  ทำธุรกิจส่วนตัว

จำนวน

11  ครัวเรือน

6)  รับจ้างทั่วไป

จำนวน

11  ครัวเรือน

7)  ว่างงาน

จำนวน

5  ครัวเรือน

 

การศึกษา

1)  ระดับอนุบาล

จำนวน

20  ครัวเรือน

2)  ระดับประถม

จำนวน

201  ครัวเรือน

3)  ระดับมัธยม

จำนวน

135  ครัวเรือน

4)  ระดับปริญญา

จำนวน

43  ครัวเรือน

5)  ไม่ได้เรียนหนังสือ

จำนวน

5  ครัวเรือน

 

ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้าน

  1. พิธีสืบชะตาประจำหมู่บ้าน
  2. การทำบุญประเพณี เดือน 4 และเดือน9
  3. ประเพณีลอยกระทง
  4. ประเพณีปี๋ใหม่เมือง
  5. การแห่ฆ้อง และกลองวง

 

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 5 กลุ่ม

           1)  กลุ่ม อสม.                                           นางทองคำ   เมืองอินทร์   ประธาน

           2)  กลุ่มเกษตรผสมผสาน                               นางฟองคำ   ชัยวงค์ษา     ประธาน

           3)  กลุ่มแม่บ้าน                                         นางสุพา      คำจา         ประธาน

           4)  กลุ่มผู้สูงอายุ                                         นายทอง      แอคำ         ประธาน

           5)  กลุ่มสิทธิเสียงสตรี/กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี     นางผ่องศรี   พรหมชัย     ประธาน

 

 

 

กองทุนในหมู่บ้าน

ลำดับ

ชื่อกองทุน

ยอดเงิน ณ ปัจจุบัน

1

กองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)

2,500,000  บาท

2

กองทุน อพป.

190,000  บาท

3

กองทุนกลุ่มออมทรัพย์แม่บ้าน

1,200,000  บาท

4

กองทุนแม่ของแผ่นดิน

2,000  บาท

5

กองทุนกู้ยืมเศรษฐกิจชุมชน (อบต.)

100,000  บาท

 

สภาพทางสังคม

           สภาพครัวเรือนชาวบ้าน อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น 

           -   ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีการตรวจสุขภาพอนามัยตลอดเพราะมีสถานีอนามัยอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร 

           -   เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อ่านและเขียนได้เป็นส่วนใหญ่อ่านเขียนภาษไทยออกเกือบหมด

           -   ชาวบ้านห้วยโป่ง จะติดสุราบางส่วน และวัยรุ่นมักจะติดบุหรี่ เนื่องจากการชักชวนจากเพื่อน และการอยากลองของวัยรุ่น

 

การคมนาคม  และสาธารณูปโภค

           -   การคมนาคมมีความสะดวกสบาย  ในการเดินทางไปอำเภอแม่วางและตามซอยได้รับการพัฒนาเป็นถนนคอนกรีตหรือลงหินคลุกทุกซอย

           -   โทรศัพท์  มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ  จำนวน  3  เครื่อง

           -   โทรศัพท์มือถือ เกือบทั้งหมู่บ้าน

           -   มีหอกระจายข่าวจำนวน  1  แห่ง

           -   มีประปาหมู่บ้านจำนวน  1  แห่ง

           -   โรงเรียนแม่วินสามัคคี เป็นโรงเรียนขยายโอกาส สอนระดับอนุบาล จนถึง ชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น หรือ ม.3 

 

ทักษะฝีมือแรงงานของหมู่บ้าน

           1)  ช่างก่อสร้าง/ปูน/ไม้

           2)  ช่างเหล็ก/ไฟฟ้า

           3)  ช่างซ่อมมอเตอร์ไซค์

 

สภาพปัญหาของหมู่บ้าน

           สภาพปัญหาของหมู่บ้าน แยกได้ดังนี้

           1)  ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์

           2)  ราคาพืชผลการเกษตรไม่แน่นอน

           3)  น้ำเพื่อการเกษตร

           4)  ขยะมูลฝอย

ทุนทางสังคม

           ของดีในหมู่บ้านมีดังนี้

           1)  มีกลุ่มเข้มแข็งของหมู่บ้าน คือ กลุ่มสหกรณ์การเกษตร

           2)  กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน

           3)  กลุ่มสตรีแม่บ้าน

           4)  กลุ่มเกษตรผสมผสาน

โดยทุกๆ กลุ่มจะมีความเอื้ออาทรต่อกันแบบเป็นพี่เป็นน้อง มีความเห็นอกเห็นใจกัน และมีความสามัคคี

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1)  นายศรีนวล    ชัยชื่น            ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

           2)  นายสุนทร     หล้าสา           ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           3)  นายเสาร์คำ    ปวนจา           ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           4)  นายสมบัติ     จันทรามูล        ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           5)  นายสุทัศน์     สุวรรณ           ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           6)  นายศรีนวล    ชัยชื่น            ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้าน

           7)  นางสุพา       คำจา             ตำแหน่ง  ประธานกลุ่มแม่บ้าน

           8)  นายทองคำ    เมืองอินทร์       ตำแหน่ง  ประธานกลุ่ม อสม.

           9)  นายทอง       แอคำ             ตำแหน่ง  ประธานประชาคมหมู่บ้าน

           10) นายสายทอง  ปันทะนันท์       ตำแหน่ง  หัวหน้าคุ้มที่ 1

           11) นางผ่องศรี    พรหมชัย         ตำแหน่ง  หัวหน้าคุ้มที่ 2

           12) นายทอง       แอคำ             ตำแหน่ง  หัวหน้าคุ้มที่ 3

           13) นายเพชร      สุวิชาตระกุล     ตำแหน่ง  หัวหน้าคุ้มที่ 4