หมู่ที่ 16 บ้านหนองมณฑา


จำนวนผู้อ่านบทความ : 831

บ้านหนองมณฑา

หมู่ที่ 16 ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           บ้านหนองมณฑา หมู่ที่ 16 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2248 เดิมมีชื่อว่าขุนมุต ปกากะญอ เรียกว่า มอวาคี สาเหตุที่เรียกเช่นนั้นเพราะมีโป่งเขาอยู่ในลำห้วย ปัจจุบันไม่มีแล้ว ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธประมาณ 99% และนับถือศาสนาคริสต์ประมาณ 1% (3 ครอบครัว) แบ่งการปกครองออกเป็น 4 หย่อมบ้าน คือ

           1) บ้านหนองมณฑา

           2) บ้านใหม่

           3) บ้านปางมะโอ

           4) บ้านขุนวิน

 

การประกอบอาชีพ ดังนี้

           1) อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก

           2) เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง

           3) รับจ้างทั่วไป

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีจำนวน 2 คน ดังนี้

           1) นายเพชร     ติกล้า               ปี พ.ศ. 2533 - 2547

           2) นายพิรมย์    นิยมไพรนิเวศน์    ปี พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน

 

อาณาเขตติดต่อ

           ทิศเหนือ        ติดต่อกับ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

           ทิศใต้           ติดต่อกับ บ้านแม่มูต หมู่ที่ 6 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

           ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

           ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ บ้านทุ่งหลวง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

 

ลักษณะภูมิอากาศ  แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้

           ฤดูหนาว  ช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน   ช่วงเดือน มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน     ช่วงเดือน มิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม

 

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

54

 ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

248

 คน

แบ่งเป็น ชาย

127

 คน

แบ่งเป็น หญิง

121

 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

28

 คน

แบ่งเป็น ชาย

14

 คน

แบ่งเป็น หญิง

14

 คน

- จำนวนผู้พิการ

12

 คน

แบ่งเป็น ชาย

6

 คน

แบ่งเป็น หญิง

6

 คน

 

อาชีพ

           อาชีพของคนในหมู่บ้าน

           1) เกษตร

           2) รับจ้าง เป็นอาชีพหลักของหมู่บ้าน

 

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านหนองมณฑา นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดและมีบางส่วนนับถือผีประชากรเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

           1) ประเพณีมัดมือ หรือประเพณีปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง มักจะจัดในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี

           2) ประเพณีกินข้าวใหม่ (ข้าวเม่า) ของกระเหรียงจัดขึ้นภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนสิงหาคม

           3) ประเพณีแต่งงานของกะเหรี่ยง นิยมแต่งงานในเดือนพฤษภาคม มีพิธีกรรม 2 แบบ คือ พิธีกรรมผู้ที่นับถือผี และผู้นับถือศาสนาคริสต์

 

การคมนาคม และสาธารณูปโภค

           -   การคมนาคมยากลำบากเพราะเป็นถนนดิน ช่วงน่าฝนจะลำบากมากในการเดินทางเพราะถนนดินส่วนใหญ่ในพื้นที่สูงจะเป็นดินแดง ยามฝนตกจะลื่น การเดินทางของประชาชนมีความลำบากพอสมควร การเดินทางไปอำเภอแม่วาง ถึงหมู่บ้านระยะทางประมาณ 70 กว่ากิโลเมตร

           -   มีหอกระจายข่าวจำนวน 1 แห่ง

           -   มีประปาหมู่บ้านจำนวน 1 แห่ง

 

สภาพทางสังคม

           สภาพครัวเรือนชาวบ้านแม่สะป๊อก อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น

           -   ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีการตรวจสุขภาพอนามัยตลอด

           -   เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อ่านและเขียนได้เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 32 % เขียนและอ่านภาษไทยไม่ได้)

 

ปัจจุบันมีกองทุนที่อยู่ในหมู่บ้าน ดังนี้

           1) กองทุน กข.คจ.    มีสมาชิก ทั้งหมู่บ้าน          มียอดเงิน ณ ปัจจุบัน     280,000 บาท

           2) กองทุนนำร่อง     มีสมาชิก 24 คน              มียอดเงิน ณ ปัจจุบัน     200,000 บาท

           3) กองทุนข้าว        มีสมาชิก 7 คน                มียอดเงิน ณ ปัจจุบัน        3,000 บาท

           4) กลุ่มเลี้ยงควาย     มีสมาชิก 10 คน              มียอดเงิน ณ ปัจจุบัน       40,000 บาท

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1) นายพิรมย์      นิยมไพรนิเวศน์      ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน

           2) นายกิงุ         ภูมิปัญญาดีสม       ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           3) นายเสาร์คำ    เลื่องเลือนามชัย     ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           4) นายจำปี       คือแมะ               ตำแหน่ง สมาชิก อบต.

           5) นายสุวรรณ์    เหล็กโพ              ตำแหน่ง สมาชิก อบต.

           6) นางหน่อดีเจ๊ะ  รักษาสกุลวินิต       ตำแหน่ง ประธานแม่บ้าน

           7) นางหน่อดีเจ๊ะ  รักษาสกุลวินิต       ตำแหน่ง ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี