หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งหลวง


จำนวนผู้อ่านบทความ : 434

บ้านทุ่งหลวง

หมู่ที่ 2 ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมา

           หมู่บ้านทุ่งหลวงมีชื่อเดิมว่า “ห้วยโป่งเดือด” ชาวบ้านเรียกตามภาษาของตนเองว่า “ปูเดาะโกล๊ะ” เหตุที่เรียกอย่างนี้เพราะว่าในอดีตมีมีน้ำพุร้อนผุดพุ่งขึ้นกลางลำห้วย  แต่ปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้ว ต่อมาทางการได้ตั้งชื่อใหม่ให้เป็นชื่อว่า “บ้านทุ่งหลวง” ซึ่งหมายถึงทุ่งที่มีขนาดกว้างเพราะหมู่บ้านมีทุ่งนาเป็นที่กว้างกว่าหมู่บ้านอื่นๆ จึงได้ชื่อว่าทุ่งหลวง

           บ้านทุ่งหลวงก่อตั้งขึ้นมาเป็นระยะเวลาประมาณ 326 ปี หรือประมาณเมื่อ ปี พ.ศ. 2219 โดยการนำของนายโหย่เจ๊ะ นายเกะหน่า (หลานชาย) เป็นผู้สืบทอดตระกูล และมีนายเจ๊ะมะ นายเจ๊ะพอ พร้อมครอบครัว อพยพมาจากบ้านหนองบอน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่  และได้ตั้งหลักอยู่บ้านทุ่งหลวง ได้สืบทอดวงศ์ตระกูลมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีนายมีโพ ศรีเอื้องดอย เป็นฮี่โข่ และมีนายดวงจันทร์ อูรุศิริ เป็นผู้ใหญ่บ้าน

 

ที่ตั้ง

           บ้านทุ่งหลวง-ห้วยทราย หมู่ที่ 2 ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

 

ขนาดที่ตั้ง

           : ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอประมาณ  36  กิโลเมตร

           : ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 75 กิโลเมตร

 

อาณาเขต

           ทิศเหนือ        ติดกับ   หมู่บ้านห้วยอีค่าง (คลีสซูคี)

           ทิศใต้           ติดกับ   หมู่บ้านแม่สะป๊อก และแม่มูต

           ติดตะวันออก   ติดกับ   บ้านหนองมณฑา (มอวาคี)

           ทิศตะวันตก    ติดกับ   บ้านห้วยตอง (เชอคี)

 

พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านทุ่งหลวง

           26.09 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิประเทศ

           บ้านทุ่งหลวงตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่  มีสภาพทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อนล้อมรอบ  เช่น ดอยก่าโจ๊ะ ดอยเหล่อปอเฮอ  ดอยม่อนยะ  ดอยโลหลู่  ดอยพอเดาะอูโจ๊ะ  ดอยธาตุ เป็นต้น  มีพื้นที่ราบเล็กน้อย  ลักษณะการตั้งหมู่บ้าน จะตั้งอยู่บนสันเขาและเชิงเขา สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  500-900 เมตร มีลำห้วย 10 สาย ล้อมรอบหมู่บ้าน เช่น ห้วยแม่เตียน  ห้วยโป่งเดือด  ห้วยทราย  ห้วยเหล่อปอเฮอเป็นต้น   ไหลผ่านหมู่บ้าน มีน้ำไหลตลอดปี

 

ลักษณะภูมิอากาศ  ภูมิอากาศของบ้านทุ่งหลวง มี 3 ฤดู

           ฤดูฝน จะเริ่มช่วงปลายเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีขึ้นอยู่กับความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมีฝนตกบ่อย  แต่ระยะเวลาในการตกแต่ละครั้งจะไม่ยาวนานมากนัก

           ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม  สภาพอากาศข้อนข้างหนาวจัด  ในช่วงเช้าจะมีหมอกหนาทึบ อากาศจะเย็นมากตลอดทั้งวัน  แม้กลางวันจะมีแสงแดดยังต้องก่อไฟผิงไฟให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเพราะจะมีลมหนาวพัดมาตลอดเวลา

           ฤดูร้อน ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม  อากาศจะไม่ร้อนมากนัก  เพราะมีพื้นที่อยู่บนภูเขาสูง

 

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

125

 ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

616

 คน

แบ่งเป็น ชาย

335

 คน

แบ่งเป็น หญิง

281

 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

55

 คน

แบ่งเป็น ชาย

26

 คน

แบ่งเป็น หญิง

29

 คน

- จำนวนผู้พิการ

8

 คน

แบ่งเป็น ชาย

5

 คน

แบ่งเป็น หญิง

13

 คน

 

พื้นที่อยู่อาศัย

พื้นที่ทำกิน

รวมพื้นที่ทั้งหมด 117.50 ไร่ แยกเป็น

รวมพื้นที่ทั้งหมด 1,507 ไร่ แยกเป็น

  • พื้นที่อยู่อาศัย 95 ไร่
  • พื้นที่โรงเรียน 4 ไร่ 2 งาน
  • พื้นที่วัด 2 แห่ง
  • มีพื้นที่รวม 18 ไร่
  • พื้นที่ใช้ทำนา 687 ไร่
  • พื้นที่ทำสวน 600 ไร่
  • พื้นที่ทำไร่หมุนเวียน 220 ไร่

 

ลักษณะการประกอบอาชีพ

ชุมชนบ้านทุ่งหลวงมีอาชีพหลักคือ การทำนาปลูกข้าว แต่บางส่วนยังมีการทำไร่หมุนเวียนอยู่ เพื่อรักษาพันธุ์พืชดั้งเดิมเอาไว้ เช่น แตง ฟักทอง ฟักแก้ว ห่อวอ หนี่โซ และพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ ที่ไม่นิยมปลูกในที่นา ฯลฯ การที่ทำไร่หมุนเวียนเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชเอาไว้ไม่ให้สูญหาย หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการเก็บเกี่ยวผลผลิต ชุมชนจะมีการปลูกผักต่างๆ เช่น ผักสลัด กะหล่ำดอก ซูคินี่ หอมญี่ปุ่น ฯลฯ และยังมีการปลูกดอกไม้ต่างๆ เช่น ดอกแกลดิโอรัส ดอกลิลลี่ ดอกดาวเรือง เป็นต้น

 

การปกครอง

          ในการปกครองของชาวปกาเก่อญอ  สมัยก่อนปกครองโดยอี่โข่  ซึ่งเป็นการนับถือและเป็นข้อปฏิบัติเหมือนกันกับบ้านอื่นๆ ที่เป็นบ้านของปกาเก่อญอ ฮี่โข่เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านใหม่และเป็นผู้นำทางประเพณี  วัฒนธรรมเมื่อชาวบ้านในหมู่บ้านทำผิดประเพณี ฮี่โข่ จะเป็นผู้ลงโทษ

 

 

สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่บริการ

          อาศรมพระธรรมจาริก

          ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518  โดยวัดศรีโสดา จังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ตั้งขึ้น  พระธรรมจาริกประจำอาศรม ฯ มาจัดตั้งเป็นโรงเรียนวัดทุ่งหลวง  โดยมีการเรียนการสอนที่วัด จนถึง พ.ศ. 2523 ทางสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ  จึงมาจัดตั้งโรงเรียนและส่งครูมาประจำที่โรงเรียน  นับแต่นั้นเป็นต้นมา  บทบาทของพระสงฆ์จึงเป็นที่ปรึกษาให้กับชาวบ้าน

          โครงการหลวง

          โครงการหลวงเข้ามาในหมู่บ้านทุ่งหลวงในปี พ.ศ. 2521 ได้เข้ามาส่งเสริมการเกษตรแผนใหม่ ชุมชนได้เรียนรู้ระบบการผลิตอย่างจริงจัง เป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับชาวบ้านทำให้ระบบการผลิตแบบพื้นบ้านหายไปโดยเฉพาะอ่างยิ่งการไร่หมุนเวียน ชาวบ้านจะเปลี่ยนจากไร่หมุนเวียนหันมาปลุกพืชเชิงเดี่ยวกันมากขึ้น เนื่องจากการปลูกพืชผักนี้สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน หลังจากการทำนาข้าวสิ้นสุดลงชาวบ้านก็จะปลูกพืชเหล่านี้ ทำให้ผลผลิตนั้นทำกันตลอดทั้งปี เจ้าหน้าที่โครงการหลวงได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก กาแฟ พลับ ท้อ บ๊วย สาลี่ ประเภทผักก็ส่งเสริมให้ปลูกต้นหอมญี่ปุ่น ผักสลัด กะหล่ำปลีแดง หัวแครอท สุกีนี่ ส่วนดอกไม้ก็ประเภท ดอกเบญจมาศ สแตติ๊ส เยอร์บีร่า แกสดิโอลัส และดอกคาเนชั่น

 

ประเพณี/เทศการประจำปี

          พิธีกรรมที่สำคัญๆ ที่สัมพันธ์กับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน และสืบทอดต่อมาหลายชั่วอายุคน เช่น

- พิธีกรรมมัดมือขึ้นปีใหม่  (แซะลอหนี่ซอโข่)  ชุมชนบ้านทุ่งหลวงจะทำพิธีมัดมือปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ประมาณปลายเดือนมกราคมของทุกปี  ครั้งที่ 2 หลังจากการดำนาปลูกข้าวแล้วเสร็จ การมัดมือขึ้นปีใหม่เป็นการแสดงความสำเร็จของชีวิตหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต

  • การจัดการป่าชุมชน ด้วยสาเหตุสำคัญๆทั้งจากการรุกกรานจากกระแสทุนจากภายนอก และชุมชนไม่อาจ จัดการทรัพยากรภายในชุนชนได้เองประกอบกับปัญหาไปป่าที่ไหม้ลามมากขึ้นทุกปี และคนภายนอกที่เข้ามาลักลอบตัดไม้ จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ชุมชนลุกขึ้นก่อตั้งคณะกรรมการและตั้งกฎระเบียบกันเองคือ เมื่อทหารพรานจะเข้ามาตั้งหน่วยในชุมชนในปี 2530 จึงทำให้ผู้นำชุมชนบางส่วนเกิดความคิด ว่าชุมชนจะต้องเป็นผู้กำหนดวิธีชีวิตของชุมชนเอง ไม่ต้องการให้ใครมาควบคุม รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการทรัพยากรภายใต้ความเปลี่ยนแปลง โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อดั้งเดิม และองค์ความรู้ต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในตัวคนทั้งด้านสัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1)   นายดวงจันทร์ อูรศิริ               ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

           2)                                         ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           3)                                         ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           4)   น.ส. อุมาพร   วีระหลานหลวง    ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           5)   นายส่าโก่เจะ   แสนสุขอุดมขวัญ   ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           6)                                         ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้าน

           7)                                         ตำแหน่ง  ประธานแม่บ้าน

           8)   นางสุรีรัตน์     พาอุน              ตำแหน่ง  ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

           9)                                         ตำแหน่ง  ประธานกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

           10)                                       ตำแหน่ง  ประธานกองทุน ศพช.

           11)                                       ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)