หมู่ที่ 5 บ้านแม่สะป๊อก


จำนวนผู้อ่านบทความ : 167

บ้านแม่สะป๊อก

หมู่ที่ 5  ตำบลแม่วิน  อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

***************

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

           ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่เป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในพื้นที่หมู่บ้าน บ้านแม่สะป๊อกเดิมเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงทั้งหมด ภายหลังได้มีความผูกพันกับคนพื้นเมืองมากขึ้น การดำรงชีวิตแบบทำไร่หมุนเวียน และทำสวนจึงเปลี่ยนมาเป็นทำนาดำ ตามคนพื้นราบ จึงมีระบบเหมืองฝาย สื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนพื้นราบกับคนกะเหรี่ยงที่ดีที่สุด

           พิธีเลี้ยงผีฝาย และพิธีกรรมแรกนา จึงเป็นพิธีที่ก้ำกึ่งระหว่างคน 2 เผ่า ที่จารึกเป็นหลลักฐานทางประวัติศาสตร์

           - ระบบเหมืองฝายมีร่องรอยกว่าร้อยปี

           - มีเส้นทางเดินที่มีประวัติศาสตร์ติดต่อค้าขาย

           - วัดวาอารามที่มีร่องรอยการก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์

 

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน (อพป.)

           หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) แม่สะป๊อก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2528 ในช่วงที่ นายหมวก ติ๊บมูล เป็นผู้ใหญ่บ้าน การดำเนินของหมู่บ้าน อพป. ในปี 2528 คือ การอบรมประชาชนในหมู่บ้านแม่สะป๊อก ที่มีทีมวิทยากรประกอบไปด้วย แพทย์ ตำรวจ ตำรวจตระเวนชายแดน ทำการอบรม 10 วัน ภาคสนามมีการฝึกยิงปืน การต่อสู้ด้วยมือเปล่า หลังจากการอบรมเสร็จ มีการสร้างซุ้มป้ายหมู่บ้าน อพป. โดยการบริหารงานโดยใช้คณะกรรมการกลาง แบ่งบทบาทหน้าที่ออกเป็น 7 ฝ่าย

           มีการจัดสรรงบประมาณปีละ 10,000 บาท ต่อต่อกัน 10 ปี และปีสุดท้ายในการให้งบประมาณ จำนวน 100,000 บาท งบประมาณในครั้งนั้นทางหมู่บ้านแม่สะป๊อกได้นำไปซื้อปุ๋ย และปัจจัยในการผลิตทางการเกษตร

 

รายชื่อผู้นำบ้านแม่สะป๊อก ตั้งแต่ตั้งเป็น หมู่บ้าน อพป.

           1) นายถุเถะ     จอชิ     ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน    พ.ศ. 2506 - 2526

           2) นายหมวก    ติ๊บมูล   ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน    พ.ศ. 2526 - 2536

           3) นายยืน       คำมา   ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน    พ.ศ. 2536 - 2546

           4) นายติ๊บหล้า  ลาครึ   ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน    พ.ศ. 2546 - 2552

           5) นายธวัชชัย   สุติมูล   ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน    พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน

 

รายชื่อคณะกรรม 7 ฝ่าย หมู่บ้าน อพป. แม่สะป๊อก

  1. ฝ่ายปกครอง                                   นายธวัชชัย   สุติมูล              ประธาน
  2. ฝ่ายป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย     นายสุคำ      มงคลวารี           ประธาน
  3. ฝ่ายพัฒนา                                     นายจรัญ     ใจหล้า             ประธาน
  4. ฝ่ายศึกษาและวัฒนธรรม                      นายกุศล      ปัจฉิมทัศนาการ   ประธาน
  5. ฝ่ายการคลัง                                    นายบุญเป็ง   ชุมภูทา             ประธาน
  6. ฝ่ายสวัสดิการ                                  นายนพคุณ   กฎบัญญัติ         ประธาน
  7. ฝ่ายสาธารณสุข                                นายคำปัน    ชัยยาปัน           ประธาน

รายชื่อกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิ หมู่บ้าน อพป. แม่สะป๊อก

           1) นายหมวก    ติ๊บมูล

           2) นายบุญช่วย  อาจหาร

           3) นายยืน       คำมา

           4) นายติ๊บหล้า  ลาครึ

 

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

           เป็นพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 6,300-800 เมตร สภาพพื้นที่มีภูเขาล้อมรอบ และภูเขาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านความเชื่อมี 4 ลูก คือ ดอยโตน ดอยกิ่วแก้ว ดอยผาหม่น และดอยแม่วางหลับกลาง

 

อาณาเขต

           ทิศเหนือ         ติดต่อกับ   บ้านแม่มูต      หมู่ที่  6  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศใต้             ติดต่อกับ   บ้านขุนป๋วย    หมู่ที่  3  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ   บ้านห้วยโป่ง   หมู่ที่ 11 ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

           ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ   บ้านห้วยเกี๋ยง  หมู่ที่  4  ต.แม่วิน  อ.แม่วาง

 

พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านแม่สะป๊อก

           29.725 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิอากาศ

           ฤดูหนาว    ช่วงเดือนพฤศจิกายน   ถึงเดือนกุมภาพันธ์

           ฤดูร้อน     ช่วงเดือนมีนาคม        ถึงเดือนพฤษภาคม

           ฤดูฝน       ช่วงเดือนมิถุนายน       ถึงเดือนตุลาคม

 

ศาสนา

           ชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านแม่สะป๊อก นับถือศาสนาพุทธคริสต์มากที่สุดและมีบางส่วนนับถือผีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และมีคนพื้นเมืองบางส่วน

 

อาชีพ

           1) เกษตร

           2) ค้าขาย

           3) รับจ้าง

 

จำนวนครัวเรือน/ประชากร  (ข้อมูลเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนครัวเรือน

226

 ครัวเรือน

- จำนวนประชากรทั้งหมด

688

 คน

แบ่งเป็น ชาย

347

 คน

แบ่งเป็น หญิง

341

 คน

 

จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ  (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556)

- จำนวนผู้สูงอายุ

68

 คน

แบ่งเป็น ชาย

35

 คน

แบ่งเป็น หญิง

33

 คน

- จำนวนผู้พิการ

12

 คน

แบ่งเป็น ชาย

7

 คน

แบ่งเป็น หญิง

5

 คน

 

การประกอบอาชีพ

           1)  เกษตรกรรม (ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์)    จำนวน   151   ครัวเรือน

           2)  ค้าขาย                                             จำนวน    15    ครัวเรือน

           3)  ทำงานประจำ/รับราชการ                        จำนวน     3    ครัวเรือน

           4)  การประมง                                         จำนวน     3    ครัวเรือน

           5)  ทำงานเอกชน/บริษัท/โรงงาน                    จำนวน     5    ครัวเรือน

 

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 5 กลุ่ม

           1)  กลุ่มแม่บ้าน

           2)  กลุ่มหนุ่มสาว

           3)  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อทรัพย์เพื่อการผลิต

           4)  กลุ่มปลูกผักโครงการหลวง

           5)  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่สะป๊อก

 

กองทุนในหมู่บ้าน

ลำดับ

ชื่อกองทุน

ยอดเงิน ณ ปัจจุบัน

1

กองทุน หมู่บ้าน (เงินล้าน)

1,300,000 บาท

2

กองทุน พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

100,000 บาท

3

กองทุน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

330,000 บาท

 

สภาพทางสังคม

           สภาพครัวเรือนชาวบ้านแม่สะป๊อก อยู่กันแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่เป็นส่วนมากครอบครัวมีความอบอุ่น 

           - ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีการตรวจสุขภาพอนามัยตลอดเพราะมีสถานีอนามัยอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ  4  กิโลเมตร 

           - เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60  ปี อ่านและเขียนได้เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 32 % เขียนและอ่านภาษไทยไม่ได้)

           -  ชาวบ้านแม่สะป๊อก ส่วนใหญ่ไม่ติดสุรา  ไม่ติดบุหรี่  มีการปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1  ครั้ง  

 

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

           1) ประเพณีมัดมือ หรือประเพณีปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง มักจะจัดในช่วงเดือน  มกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี

           2) ประเพณีกินข้าวใหม่(ข้าวเม่า) ของกระเหรียงจัดขึ้นภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนสิงหาคม

           3) ประเพณีแต่งงานของกะเหรี่ยง นิยมแต่งงานในเดือนพฤษภาคม มีพิธีกรรม  2  แบบ  คือ

พิธีกรรมผู้ที่นับถือผี และผู้นับถือศาสนาคริสต์

 

สถานที่ ท่องเที่ยว

           บ้านแม่สะป๊อก  มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในในหมู่บ้านหลายแห่ง  ได้แก่

  1. โครงการหลวงแม่สะป๊อก (Royal Project Development Center mea Sapok)

               มีการบริการห้องพัก ดังนี้ มีบ้านพักแฝด 1 หลัง แยกเป็น 3 ห้อง พักได้ประมาณ 15 คน และมีที่พักในหมู่บ้านที่บ้านผาหม่น

           2) วัดพระธาตุดอยโตนเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เน้นความสงบ สะอาดและเป็นระเบียบ

           3) น้ำตกแม่สะป๊อกที่ตกจากที่สูงมีน้ำไหลตลอดปี

           4) น้ำตกแม่วาง มีแอ่งที่สามารถลงเล่นน้ำได้

           5) น้ำตกผาหม่น ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 6 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซด์ ประมาณ 5 กิโลเมตร และเดินเท้าประมาณ 1 กิโลเมตร

           6) น้ำตกแม่ป๋วย เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ บริเวณน้ำตกมีชาวกะเหรี่ยงปลูกกะต๊อบให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก

           7) หมู่บ้านหัตถกรรมการท่องเที่ยว (บ้านกระเหรี่ยง)

           8) นั่งช้างผาหม่น

           9) บ้านล้านดาวรีสอร์ท

 

การคมนาคม  และสาธารณูปโภค

           -   การคมนาคมมีความสะดวกสบาย ในการเดินทางไปอำเภอแม่วางและตามซอยได้รับการพัฒนาเป็นถนนคอนกรีตหรือลงหินคลุกทุกซอย

           -   มีหอกระจายข่าว จำนวน 1  แห่ง

           -   มีประปาหมู่บ้าน จำนวน  1  แห่ง

           -   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่สะป๊อก

 

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน

           1) นายธวัชชัย     สุติมูล              ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

           2) นายกุศล       ปัจฉิมทัศนาการ   ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           3) นายคำปัน      ชัยยาปัน           ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

           4) นายจรัญ       ใจหล้า             ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           5) นายนพคุณ     กฎบัญญัติ          ตำแหน่ง  สมาชิก อบต.

           6) นายธวัชชัย     สุติมูล              ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)

           7) นางบัวจันทร์   สิงห์แก้ว            ตำแหน่ง  ประธานแม่บ้าน

           8) นางมยุรี        มีทูดี                ตำแหน่ง  ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

รายชื่อผู้นำในหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน (ต่อ)

           9) นายหมวก      ติ๊บมูล              ตำแหน่ง  ประธานกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

           10)  นายพันคำ    จอชิ                ตำแหน่ง  ประธานกองทุนเศรษฐกิจชุมชน

           11)  นายนิพล     ดีปา                ตำแหน่ง  ประธานกองทุนหมู่บ้านอาสาพัฒนา และป้องกันตนเอง (อพป.)