ความรู้และแนวทางป้องกันควบคุมโรค มือ เท้า ปาก


จำนวนผู้อ่าน : 17

ความรู้และแนวทางป้องกันควบคุมโรค มือ เท้า ปาก
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่

 

            ตามที่พบการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2555 พบผู้ป่วยแล้วมากกว่า 10,000 ราย จากทุกจังหวัดกระจายไปทุกภาคของประเทศไทย โดยกลุ่มอายุที่พบส่วนใหญ่ คือ เด็กเล็กช่วงอายุต่ำกว่า 2- 5 ปี ซึ่งพบได้มากในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล จึงขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รวมทั้งประชาชนดำเนินการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน และเตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดโรค มือ เท้า ปากเมื่อพบการระบาดของโรค ให้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคทันที โดยมีการสอบสวนโรคและเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเชื้อที่รุนแรง ดูแลรักษาพยาบาลตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งท่านสามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูล สถานการณ์ คู่มือ สื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ จากสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้แล้วที่หัวข้อด้านล่างนี้ และให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

 
1. องค์ความรู้ของโรค
220 โรคมือ เท้า และปาก
             เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัสหลายชนิด (Enterovirus) พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปีแต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง ปัจจัยหลักที่โน้มนำให้เกิดการระบาดมาจากความแออัดระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดีสุขอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขวิทยาส่วนบุคคลบกพร่อง ส่วนใหญ่มักเกิดตามสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล เป็นต้น
 Download เอกสารเพิ่มเติม
         1.องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ "โรค มือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease ; HFMD)
         2.คู่มือ การป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุข ปี 2554 "โรค มือ เท้า ปาก
              (Hand Foot and Mouth Disease ; HFMD)
           3. องค์ความรู้โรคมือ เท้า ปาก ฉบับย่อ
   
2. แนวทางการดำเนินงาน ป้องกัน ควบคุม โรค มือ เท้า ปาก
  1.แนวทางการวินิจฉัย และดูแลรักษา โรค มือ เท้า ปาก สำหรับแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ 
2. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก สำหรับแพทย์์ 
3. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 
4. แนวทางเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก สำหรับศูนย์เด็กเล็กสถานรับเลี้ยงเด็ก
    และสถานศึกษา 
5. Prevention and Control Measures for School/Child Care Centre Against Hand Foot and Mouth Disease (HFMD)
6. คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางที่จะ ไป - มา จากประเทศกัมพูชา 
7.  คำแนะนำสำหรับกิจกรรมการรวมตัวของคนหมู่มาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรคมือ เท้า ปาก
 
การดูแลรักษาพยาบาล         
 
 โรคนี้ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายได้เอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะป่วยนานประมาณ 7- 10 วัน เนื่องจากยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ  จึงใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาทาแก้ปวดในรายที่มีแผลที่ลิ้นและกระพุ้งแก้มผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรเช็ดตัวผู้ป่วยเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำ น้ำผลไม้และนอนพักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อนอาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดนม เพื่อลดการปวดแผลในปาก ที่สำคัญคือการป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิต ตามปกติโรคนี้มักไม่รุนแรง และไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่ถ้าเกิดจาเชื้อไวรัสบางชนิด เช่นเอนเทอโรไวรัส 71 อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำอาเจียนบ่อย หอบแขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากภาวะสมองอักเสบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอดซึ่งจะรุนแรงจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกุล่มเด็กเล็กและเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือผู้ที่ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น