เตือนป้องกันภัยหนาว
จำนวนผู้อ่าน : 43
คำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข สำหรับประชาชนในการป้องกันภัยหนาว เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ว่าด้วยขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว และจากการพยากรณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายว่าในปีนี้อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในรอบ 30 ปี โดยจะคงสภาพอากาศหนาวเย็นเช่นนี้ยาวนานกว่าทุกปี
ทางกระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยในสุขภาพของประชาชน เนื่องจากสภาวะอากาศเช่นนี้จะส่งผลให้เกิดโรคภัยต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่ วยเรื้อรัง ต้องระมัดระวังการเจ็บป่ วยจากโรคซึ่งมักพบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว 6 โรค ตามประกาศกรมควบคุมโรค ได้แก่ โรคไข้หวัดและ ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคสุกใส และโรคอุจจาระร่วง รวมถึงโรคที่เกิดจากสภาพอากาศที่แห้ง เช่น โรคผิวหนัง และการเสียชีวิตของผู้สูงอายุด้วยภัยหนาว เป็นต้น จึงขอแนะนำให้ประชาชนทราบถึงการป้องกันภัยด้านสุขภาพจากอากาศหนาว ดังนี้
คำแนะนำประชาชน
1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่วงฤดูหนาว ได้แก่กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่ วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคโลหิตจาง เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ เกิดการเจ็บป่ วยได้ง่าย และเมื่อป่ วยจะมีอาการรุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป
2. รักษาความอบอุ่นของร่างกาย โดยการสวมเสื้อผ้าหนาๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่สภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามสภาพอากาศ ให้ใส่ถุงเท้า หมวกไหมพรม หากไม่มีให้ใส่เสื้อผ้าหลายๆ ชั้นและห่มผ้าให้หนามากกว่าปกติ การดื่มนา้ํ และเครื่องดื่มอุ่นๆ ที่นอกจากจะเพิ่มความอบอุ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย
3. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทแป้ งและไขมัน เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย
4. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่
4.1 การดื่มสุรา ซึ่งนอกจากไม่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายแล้ว ยังมีผลเสียทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้
4.2 การผิงไฟในเต้นท์ จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษเข้าสู่ทางเดินหายใจได้
4.3 การนำเด็กไปใกล้บริเวณที่มีการก่อไฟให้ความอบอุ่น เพราะควันไฟจะระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจเด็ก
4.4 การนอนในที่แจ้ง ลมโกรก โดยไม่มีเครื่องป้ องกันให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
4.5 การอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด ซึ่งจะทำให้มีโอกาสรับเชื้อโรคได้ง่าย
4.6 การคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องใส่ใจในการป้องกันร่างกาย เช่น การล้างมือบ่อยๆ การสวมหน้ากากอนามัย เป็นต้น
และเมื่อย่างเข้าสู่หน้าหนาว แม้ว่าอากาศบ้านเราจะไม่หนาวเย็นมากนัก แต่คุณก็ควรใส่ใจในสุขภาพของตัวเองและสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวให้มากขึ้น โดยเฉพาะเจ้าตัวน้อยที่ร่างกายยังบอบบางและมีภูมิต้านทานโรคไม่มากเท่า ผู้ใหญ่เพราะในช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาทองของบรรดาเชื้อไวรัสทั้งหลายที่ เจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็น
จากข้อมูลของประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคที่เกิดในฤดูหนาว ระบุว่า อากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้น หากร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ โรคที่เกิดในฤดูหนาว มักจะเกิดกับเด็กและผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัดเยอรมัน สุกใส และอุจจาระร่วง
ไข้หวัดและโรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อได้ง่ายโดยการหายใจ และเชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย จึงติดต่อได้โดยการสัมผัส แพร่กระจายในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก และอากาศไม่ถ่ายเท เช่น โรงหนัง ห้างสรรพสินค้า
อาการจะเริ่มต้นด้วยการมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บหรือแสบคอ บางคนอาจหนาวสั่น ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า คือ ตัวร้อนจัด หนาวสั่น ปวดศีรษะมาก ปวดกระดูก มักคลื่นไส้ด้วย ควรระวังโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ คออักเสบ
ในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ จะมีความเสี่ยงมากกว่าช่วงวัยอื่น และที่สำคัญหากอยู่ในพื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์ปีก และป่วยหลังจากมีสัตว์ตายอย่างผิดปกติ ต้องระวังเรื่องของไข้หวัดนก ควรพบแพทย์และแจ้งปศุสัตว์ทันที
โรคปอดบวม เป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อโดยตรง ติดต่อได้จากการหายใจ และน้ำมูกน้ำลาย จึงสามารถติดต่อได้จากการใช้ของร่วมกัน มีระยะการฟักตัวของโรค 1-3 วัน
ปอดบวม เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของกลุ่มโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด น้ำหนักตัวน้อย เด็กในวัยขวบแรก เด็กขาดสารอาหาร เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด ส่วนใหญ่ปอดบวมจะเกิดหลังจากโรคหวัดประมาณ 2-3 วัน หากเกิดในเด็กเล็กให้ระวังอาการช็อก
โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัสหัด พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 1-6 ปี ติดต่อได้ง่ายเพียงการไอจามรดกัน หรือหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วย ระบาดในช่วงฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน
จะมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง จะรุนแรงมากขึ้น และผื่นจะขึ้นประมาณวันที่ 4 ไข้จะลดเมื่อผื่นกระจายทั่วตัว ระหว่างนั้นอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง ช่องหูอักเสบ สมองอักเสบ และภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะเด็กที่ขาดวิตามินเอ เมื่อเป็นหัดจะมีความรุนแรงมาก หากมีปอดอักเสบร่วมด้วยอาจทำให้เสียชีวิตได้
หัดเยอรมัน เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการไข้ มีผื่นคล้ายหัด แต่บางรายก็ไม่มี ในเด็กเล็กจะมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ในผู้ใหญ่จะมีอาการประมาณ 1-5 วัน ติดต่อได้จากการหายใจ หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ต้องระวังเป็นพิเศษ
โรคสุกใส มักเกิดในเด็กอาการเริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ เหมือนไข้หวัด หัด ไข้หวัดใหญ่ แล้วจะมีผื่นแดง ตุ่มนูน และเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2-3 นับแต่เริ่มมีไข้ หลังจากนั้นจะเป็นหนอง เริ่มแห้งตกสะเก็ด ในช่วง 5-20 วัน ผื่นอาจขึ้นในคอ ตา และปาก โดยทั่วไปจะไม่เกิดโรคแทรกซ้อน
โรคอุจจาระร่วง มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ติดต่อจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป ติดต่อทางน้ำลาย น้ำมูกได้ ถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวบ่อยครั้ง โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง แต่บางคนอาจขาดน้ำรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล ดูแลร่างกายให้อบอุ่น เลือกรับประทานอาหารปรุงสุก ร้อน น้ำสะอาด สามารถจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
ที่มา : กรมควบคุมโรคติดต่อ